การหาตำแหน่งศูนย์กลางของเสาและเสาเข็ม
การหาศูนย์เสา
เมื่อทำการตีผังเรียบร้อยแล้วจะต้องทำการหาศูนย์กลางของเสา หรือศูนย์กลางของฐานรากนั่นเอง
1 กำหนดแนวเริ่มต้นโดย Offset จากแนวผังตามระยะที่คำนวณได้ ในที่นี้สมมุติให้แนวผังห่างจากศูนย์กลางฐานรากหรือศูนย์กลางของตอม่อ 1 เมตรจะได้แนว AB
2 ตอกตะปูและขึงเอ็นให้ตึง จากนั้นหาแนว CD โดยวัดระยะออกมา 1 เมตร และตอกตะปู กำหนดให้เป็นเป็นจุด C
3 สร้างฉากโดยใช้กฎ 3 : 4 : 5 ดังรูป หรือใช้กล้อง Theodolites สร้างมุมฉากดังภาพที่ 4.6 จะได้จุด D จากนั้นตอกตะปูและขึงเอ็นให้ตึง
4 จุดตัดระหว่างเส้น AB และ CD ก็คือ จุดศูนย์กลางของฐานรากหรือจุดศูนย์กลางของตอม่อนั่นเอง
5 ทำการทิ้งดิ่งตรงจุดตัดของเส้นเอ็นและตอกหมุดลงบนพื้นดินใช้สีทาที่หัวหมุด และอาจจะตอกตะปูลงบนหมุดเพื่อแสดงตำแหน่งของศูนย์กลางของฐานรากหรือตอม่อ
ส่วนจุดศูนย์กลางของฐานรากตัวอื่น ๆ สามารถทำเช่นเดียวกันที่กล่าวมา


การหาตำแหน่งศูนย์ของเสาเข็ม
ใน การก่อสร้างหรือแบบก่อสร้างอาจจะเป็นฐานรากแผ่เสมอไป อาจเป็นฐานรากที่มีเสาเข็มรับน้ำหนักบรรทุกก่อนที่จะถ่ายน้ำหนักลงดิน ดังนั้นการวางตำแหน่งของเสาเข็มจึงจำเป็นต้องวางให้ถูกต้องตามแบบก่อสร้าง เพื่อให้ฐานรากนั้นสามารถรับน้ำหนักบรรทุกที่กระทำได้ตามที่วิศวกรออกแบบไว้
การหาตำแหน่งศูนย์ของเสาเข็มสามารถทำได้ดังนี้
1 ต้องตรวจสอบแบบฐานรากว่ามีขนาดเท่าใด เสาเข็มห่างจากศูนย์กลางของฐานราก หรือห่างจากริมฐานรากเท่าใด
2 เมื่อเราทราบตำแหน่งของเสาเข็มแล้ว สมมุติว่าฐานรากมีขนาด 1.20 x 1.20 เมตร ระยะห่างจากศูนย์กลางเสาของสิ่งก่อสร้าง 0.40 เมตร
3 จากแนวศูนย์กลางของเสาทั้ง 4 ด้าน วัดระยะออกมาด้านละ 0.40 เมตร ตอกตะปูบนผังนอนและขึงเอ็นตามแนวที่ตอกตะปู
4 ทิ้งลูกดิ่งตรงที่เส้นเอ็นตัดกัน จากนั้นใช้หมุดปักจะได้ตำแหน่งเสาเข็ม ดังภาพที่ 4.8

ใน การตอกหมุดเพื่อระบุตำแหน่งของเสาเข็มนั้นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือวิศวกรเองมักจะตอกหมุดเสาเข็มลอย ๆ ดังภาพที่ 4.9 (ก) ซึ่งอาจจะทำให้หมุดเสาเข็มสูญหายและเคลื่อนย้ายได้ เมื่อทำการตอกเสาเข็มหรือเจาะเสาเข็ม ตำแหน่งเสาเข็มอาจไม่ตรงและเกิดเยื้องศูนย์ได้ การตอกหมุดบอกตำแหน่งควรทำดังภาพที่ 4.9 (ข) จึงจะถูกต้อง

บทความโดย : ทีมงานแก๊งกาแฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น